Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564

ออร์ก้า เบซินจุดทะเลเกลือมรณะ ใต้มหาสมุทรสามารถคร่าทุกสิ่งมีชีวิตที่เข้าใกล้ได้


ออร์ก้า เบซิน(Orca Basin) คือ ทะเลสาบเกลือใต้มหาสมุทรขนาดใหญ่ (brine pools) มีพื้นที่กว่า 123 ตารางกิโลเมตร (ใหญ่กว่าเกาะแมนฮัตตัน 2 เท่า) ตั้งอยู่ที่ก้นมหาสมุทรของอ่าวเม็กซิโก ที่ระดับความลึก 2,200 เมตร เป็นแอ่งสะสมเกลือที่เค็มจัดจนสัตว์ทะเลไม่สามารถอยู่ได้ อีกทั้งยังเต็มไปด้วยสารพิษจากเกลือจำนวนมากจนถูกเรียกว่า “ทะเลสาบมรณะใต้ท้องทะเล”

กระบวนการเกิดทะเลสาบเกลือใต้มหาสมุทร : อดีตอ่าวเม็กซิโกเคยเป็นแอ่งน้ำตื้น – ทำให้น้ำทะเลสามารถระเหยได้ง่าย – และเมื่อน้ำทะเลระเหยจะมีเกลือตกตะกอนซ้อนกันอยู่มาก – เวลาผ่านไปแผ่นดินแยกตัว – แอ่งที่เคยตื้นก็ยุบตัวเกิดเป็นแอ่งลึก – มีน้ำทะเลจากมหาสมุทรเติมเข้ามา – พัดพาตะกอน (หิน ทรายต่าง ๆ) เข้ามาปิดทับชั้นเกลือ – ช่วยให้เกลือไม่ละลาย – นานวันเข้าชั้นตะกอนเริ่มบางลง – ทำให้เกลือสามารถซึมผ่านชั้นตะกอนขึ้นมาผสมกับน้ำทะเลในแอ่งได้ – จนทำให้น้ำในแอ่งมีความเค็มและความหนาแน่นมากพอ -จนเกิดการแบ่งชั้นระหว่างน้ำเกลือในแอ่งกับน้ำทะเลทั่วไป – จนกลายเป็นทะเลสาบเกลือนั่นเอง

เข้าเรื่อง – เดอร์เร็ก ซอว์เยอร์ (derek sawyer) นักธรณีวิทยาทางทะเลจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ ผู้ที่ศึกษาทะเลสาบเกลือแห่งนี้มา 1 ปีเต็ม พบว่าชั้นเกลือใต้ทะเลสาบแห่งนี้ ถูกสะสมมาตั้งแต่ยุคจูราสสิก (ประมาณ 150 ถึง 200 ล้านปีก่อน) มีความหนาของชั้นเกลือที่สะสมมากถึง 8 กิโลเมตร เลยทีเดียว ซึ่งจากการคำนวณพบว่ามีเกลือที่ซึมขึ้นมามากถึง 500,000 ตันต่อปีเลยทีเดียว

ด้วยปริมาณเกลือที่มากขนาดนี้ทำให้น้ำในทะเลสาบแห่งนี้มีความเค็มมากกว่าน้ำทะเลทั่วไปถึง 8 เท่า มันเค็มซะจนสิ่งมีชีวิตไม่สามารถอยู่ได้ แถมไม่มีออกซิเจนเลยแม้แต่น้อย อีกทั้งมันยังเต็มไปด้วยก๊าซพิษอย่างไฮโดรเจนซัลไฟด์และก๊าซมีเทน ที่อันตรายต่อสัตว์ทะเลทุกชนิด (ยกเว้นหอยแมลงภู่ที่สามารถเปลี่ยนก๊าซมีเทนให้กลายเป็นน้ำตาลคาร์บอนได้) 


ซึ่งจากที่ทีมวิจัยได้สำรวจบริเวณทะเลสาบแห่งนี้พบว่า มีสัตว์ทะเลจำนวนมากที่ตายอยู่รอบ ๆ และเนื่องจากความเค็มของน้ำเกลือในทะเลสาบทำให้ซากสัตว์ที่ตายยังคงสมบูรณ์ ราวกับถูกดองไว้เลยล่ะ ความพิเศษอีกอย่างของมันคือ มีความหนาแน่นสูงจนทีมนักวิจัยสามารถนำเรือดำน้ำลงจอดบนผิวน้ำได้โดยไม่จม (คล้ายกับทะเลเดดซี)
ปูผู้โชคร้ายหลงเข้ามาในพื้นที่มรณะ 
ทะเลสาบเกลือมรณะนี้มีลักษณะเหมือนกับทะเลบนพื้นดินทุกประการ มีชายหาด มีคลื่นพัดเข้าชายฝั่งซึ่งเกิดจากกระแสน้ำทะเลที่อยู่ด้านบน ที่ผิวน้ำทะเลสาบเกลือให้เคลื่นที่ตามจนเกิดเป็นคลื่นอ่อน ๆ แถมยังสามารถเกิดสึนามิได้ด้วยนะ โดยเกิดจากดินถล่มใต้แอ่ง ไปกระทบผิวน้ำจนเกิดเป็นคลื่นลูกใหญ่ได้ และทะเลสาบเกลือแห่งนี้มีความหนาแน่นสูงจนทีมนักวิจัยสามารถนำเรือดำน้ำลงไปจอดบนผิวน้ำได้โดยไม่จม (คล้ายกับทะเลเดดซี)

ล่าสุดเมื่อปี 2017 สารคดี Blue Planet II ของ BBC Earth ได้ลงไปถ่ายทำเกี่ยวกับทะเลสาบมรณะแห่งนี้เช่นกัน
👉 – ความจริงแล้ว โลกของเรายังมีพื้นที่อันตรายแบบนี้อยู่มากมาย เช่น “ทะเลสาบเน-ตรอน” (Lake Natron) ณ ประเทศแทนซาเนีย เป็นทะเลสาบที่มีสีแดงสดชวนสะดุดตา ซึ่งความสวยงามนี้เต็มไปด้วยความอันตราย 

เพราะมันสามารถเปลี่ยนสิ่งชีวิตที่เผลอตกลงไป “ให้กลายเป็นหินได้ทันที” ผู้คนจึงตั้งฉายาให้ทะเลสาบแห่งนี้ว่า “ทะเลสาบเมดูซ่า” (The Medusa Lake) ตามความสามารถของเทพสาวที่มีเส้นผมเป็นงูนั่นเอง ซึ่งจากการเก็บตัวอย่าง พบว่า ทะเลสาบเนตรอนมีความเป็นด่างสูงมากพอที่จะเผาไหม้ผิวหนังและดวงตาของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เข้าใกล้หรือตกลงไปในทะเลสาบได้เลย (สูงถึง pH ระดับ 10.5 เลยล่ะ)

รายการบล็อกของฉัน