Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ทะเลสาบอูร์เมีย ทะเลสาบสีเลือดใน ประเทศอิหร่าน

ทะเลสาบอูร์เมีย ทะเลสาบสีเลือดใน ประเทศอิหร่าน

น้ำในทะเลสาบอูร์เมียแห่งนี้เกิดการเปลี่ยนสีได้ไปตามฤดูกาล 
นักวิทยาศาสตร์เผยว่าเกิดจากการตกตะกอน และสภาพภูมิอากาศ 
ส่งผลให้ความเค็มของน้ำเปลี่ยนไปทำให้จุลินทรีย์เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทะเลสาบอูร์เมีย เป็นทะเลสาบน้ำเค็มตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอิหร่าน เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง และเป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของโลก

ทะเลสาบอูร์เมียมีขนาด 5,000 ตารางกิโลเมตร เคยมีความลึก 6 เมตรโดยเฉลี่ย ปัจจุบันนี้ทะเลสาบแห่งนี้น้ำลดลงไปมากเนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ว รวมไปถึงการสร้างเขื่อน

อุปกรณ์ถ่ายภาพที่เรียกว่า “โมเดอเรต รีโซลูชั่น อิเมจิง สเปคโตรเรดิโอมิเตอร์” หรือ “โมดิส” บนดาวเทียมเพื่อการสำรวจ “อคัว แซท” ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) ของสหรัฐอเมริกา จับภาพของทะเลสาบ “อูร์เมีย” ที่เปลี่ยนสีเป็นสีแดงคล้ำเหมือนสีไวน์หรือสีเลือดได้เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่เมื่อเดือนเมษายนก่อนหน้านั้น ทะเลสาบแห่งนี้ยังคงมีสีสันออกไปทางสีเขียวตามปกติ

“อูร์เมีย” เป็นทะเลสาบของอิหร่านที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณแนวชายแดนติดต่อกับประเทศตุรกี เคยมีสภาพการเปลี่ยนสีเช่นนี้มาก่อนบ่อยครั้ง ทำให้ชาวบ้านในท้องถิ่นใช้เป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล

โมฮัมเหม็ด ทัวเรียน นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสตุตการ์ต ประเทศเยอรมนี ชี้ว่าสาหร่ายขนาดเล็กชนิดหนึ่งในวงศ์ดันแนลิเอลลา ซึ่งชอบความเค็มและแดดจัดเป็นพิเศษจะเติบโตเร็วมากในหน้าร้อนที่น้ำในทะเลสาบแห่งนี้แห้งลงและความเค็มทวีขึ้น คือตัวการที่ทำให้อูร์เมียกลายเป็นทะเลสาบสีเลือดดังกล่าว เมื่อฝนตกและน้ำจืดไหลเข้ามาเพิ่มสีสันก็จะกลับคืนสู่สภาพเดิม

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ของนาซาเชื่อว่าเป็นไปได้เช่นกันที่แบคทีเรียชนิดหนึ่งเรียกว่า “ฮาโลแบคทีเรียซิเอ” 

ซึ่งขยายตัวเร็วในสภาพเค็มจัดและแดดดี จะก่อให้เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ขึ้น เหมือนกับที่เคยปรากฏในทะเลสาบที่รัฐเท็กซัสเมื่อปี 2011 และเกรท ซอลท์เลค ในรัฐยูทาห์ เมื่อไม่นานมานี้...

รายการบล็อกของฉัน