เขตมรณะ” ไร้ออกซิเจนในทะเลขยายตัวเพิ่มขึ้น 4 เท่า
ปลากระเบนที่ตายแล้วจำนวนมากถูกคลื่นซัดมาเกยหาดแห่งหนึ่งทางตะวันออกของเม็กซิโก
ผลวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science ชี้ว่าพื้นที่ของ "เขตมรณะ" (Dead zones) หรือน่านน้ำในมหาสมุทรที่ขาดออกซิเจนจนทำให้สิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้นั้น กำลังขยายวงกว้างขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยพบว่ามีขนาดใหญ่กว่าเดิมถึง 4 เท่า นับแต่ปี 1950 เป็นต้นมา และปัจจุบันมีขนาดเท่ากับดินแดนของชาติในสหภาพยุโรปรวมกันแล้ว
ผลการศึกษาชี้ว่า ภาวะโลกร้อนที่ทำให้น้ำทะเลอุ่นขึ้นและกักเก็บออกซิเจนได้น้อยลง ทำให้พื้นที่เขตมรณะในทะเลเปิดของมหาสมุทรต่าง ๆ ทั่วโลกขยายตัวขึ้น ส่วนพื้นที่ขาดออกซิเจนใกล้ชายฝั่งก็มีเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าในช่วงเวลาเดียวกัน เนื่องจากการใช้ปุ๋ยทำการเกษตร รวมทั้งการทิ้งของเสียลงดินและแหล่งน้ำใกล้ทะเลเป็นจำนวนมาก
ดร.เดนิส เบรตเบิร์ก จากศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมสถาบันสมิธโซเนียนในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัยดังกล่าวระบุว่า ปรากฏการณ์นี้จะนำไปสู่การตายและสูญพันธุ์ของสัตว์น้ำครั้งใหญ่ในไม่ช้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ทำประมงและประชาชนหลายร้อยล้านคนทั่วโลก
ทั้งนี้ มหาสมุทรคือแหล่งอาหารสำคัญของผู้คนกว่า 500 ล้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ยากจน ทรัพยากรในท้องทะเลยังช่วยสร้างงานต่าง ๆ ให้ผู้คนทั่วโลกถึงราว 350 ล้านตำแหน่ง แต่ในปัจจุบันมีการรายงานถึงเขตมรณะใกล้ชายฝั่งแล้วถึงกว่า 500 แห่ง ซึ่งคาดว่าตัวเลขที่แท้จริงจะสูงกว่านี้อีกมากในพื้นที่ที่ยังไม่มีการสำรวจไปถึง
ก่อนหน้านี้ น่านน้ำทะเลเปิดที่ห่างไกลจากฝั่งในบางส่วนของโลก อาจมีเขตมรณะที่ไร้ออกซิเจนอยู่ตามธรรมชาติได้เนื่องจากการหมุนของโลกส่งผลต่อการไหลเวียนของกระแสน้ำ แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยน้ำมือมนุษย์ในช่วงเกือบ 70 ปีที่ผ่านมา ทำให้เขตมรณะขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงหลายล้านตารางกิโลเมตร รวมทั้งปริมาณออกซิเจนโดยเฉลี่ยในน้ำทะเลทั้งหมดก็ยังลดลงไป 2% หรือราว 77,000 ล้านตันด้วย ซึ่งจะกระทบต่อการขยายพันธุ์ การเติบโต รวมทั้งสุขภาพของพืชและสัตว์ทะเลได้
การที่น้ำทะเลขาดออกซิเจน ยังทำให้จุลินทรีย์จำพวกที่ไม่ใช้ออกซิเจนหรือใช้ในปริมาณน้อยแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสิ่งมีชีวิตพวกนี้จะผลิตก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่เป็นก๊าซเรือนกระจกออกมาในปริมาณมาก โดยไนตรัสออกไซด์นั้นจัดว่าเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 300 เท่า
ส่วนปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง (Algal bloom) ที่พบได้บ่อยครั้งขึ้นตามชายฝั่ง ก็ยิ่งมีส่วนเร่งให้ออกซิเจนถูกดึงออกไปจากน้ำทะเลมากขึ้น
ปลากระเบนที่ตายแล้วจำนวนมากถูกคลื่นซัดมาเกยหาดแห่งหนึ่งทางตะวันออกของเม็กซิโก
ผลวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science ชี้ว่าพื้นที่ของ "เขตมรณะ" (Dead zones) หรือน่านน้ำในมหาสมุทรที่ขาดออกซิเจนจนทำให้สิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้นั้น กำลังขยายวงกว้างขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยพบว่ามีขนาดใหญ่กว่าเดิมถึง 4 เท่า นับแต่ปี 1950 เป็นต้นมา และปัจจุบันมีขนาดเท่ากับดินแดนของชาติในสหภาพยุโรปรวมกันแล้ว
ผลการศึกษาชี้ว่า ภาวะโลกร้อนที่ทำให้น้ำทะเลอุ่นขึ้นและกักเก็บออกซิเจนได้น้อยลง ทำให้พื้นที่เขตมรณะในทะเลเปิดของมหาสมุทรต่าง ๆ ทั่วโลกขยายตัวขึ้น ส่วนพื้นที่ขาดออกซิเจนใกล้ชายฝั่งก็มีเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าในช่วงเวลาเดียวกัน เนื่องจากการใช้ปุ๋ยทำการเกษตร รวมทั้งการทิ้งของเสียลงดินและแหล่งน้ำใกล้ทะเลเป็นจำนวนมาก
ดร.เดนิส เบรตเบิร์ก จากศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมสถาบันสมิธโซเนียนในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัยดังกล่าวระบุว่า ปรากฏการณ์นี้จะนำไปสู่การตายและสูญพันธุ์ของสัตว์น้ำครั้งใหญ่ในไม่ช้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ทำประมงและประชาชนหลายร้อยล้านคนทั่วโลก
ทั้งนี้ มหาสมุทรคือแหล่งอาหารสำคัญของผู้คนกว่า 500 ล้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ยากจน ทรัพยากรในท้องทะเลยังช่วยสร้างงานต่าง ๆ ให้ผู้คนทั่วโลกถึงราว 350 ล้านตำแหน่ง แต่ในปัจจุบันมีการรายงานถึงเขตมรณะใกล้ชายฝั่งแล้วถึงกว่า 500 แห่ง ซึ่งคาดว่าตัวเลขที่แท้จริงจะสูงกว่านี้อีกมากในพื้นที่ที่ยังไม่มีการสำรวจไปถึง
ก่อนหน้านี้ น่านน้ำทะเลเปิดที่ห่างไกลจากฝั่งในบางส่วนของโลก อาจมีเขตมรณะที่ไร้ออกซิเจนอยู่ตามธรรมชาติได้เนื่องจากการหมุนของโลกส่งผลต่อการไหลเวียนของกระแสน้ำ แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยน้ำมือมนุษย์ในช่วงเกือบ 70 ปีที่ผ่านมา ทำให้เขตมรณะขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงหลายล้านตารางกิโลเมตร รวมทั้งปริมาณออกซิเจนโดยเฉลี่ยในน้ำทะเลทั้งหมดก็ยังลดลงไป 2% หรือราว 77,000 ล้านตันด้วย ซึ่งจะกระทบต่อการขยายพันธุ์ การเติบโต รวมทั้งสุขภาพของพืชและสัตว์ทะเลได้
Algal bloom
การที่น้ำทะเลขาดออกซิเจน ยังทำให้จุลินทรีย์จำพวกที่ไม่ใช้ออกซิเจนหรือใช้ในปริมาณน้อยแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสิ่งมีชีวิตพวกนี้จะผลิตก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่เป็นก๊าซเรือนกระจกออกมาในปริมาณมาก โดยไนตรัสออกไซด์นั้นจัดว่าเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 300 เท่า
ส่วนปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง (Algal bloom) ที่พบได้บ่อยครั้งขึ้นตามชายฝั่ง ก็ยิ่งมีส่วนเร่งให้ออกซิเจนถูกดึงออกไปจากน้ำทะเลมากขึ้น