Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556

พายุในทะเล และ สตอมเสิร์ท (Storm Surge)

สตอมเสิร์ท (Storm Surge) หรือคลื่นพายุซัดฝั่งเริ่มเป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไปเมื่อมีการทำนายว่า มันอาจจะเกิดขึ้นกับเมืองหลวงของไทยอย่างกรุงเทพมหานครที่ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียงแค่ 1 เมตร สตอมเสิร์ท เป็นคลื่นยักษ์ที่ถาโถมเข้าซัดชายฝั่งมีลักษณะที่เหมือนกับคลื่นยักษ์สึนามิจะต่างกันก็เพียง สึนามิคือแรงกระเพื่อมของคลื่นยักษ์ ที่เกิดจากแผ่นดินไหวในขณะที่สตอมเสิร์ทเกิดขึ้นพร้อมกับพายุ แล้วเคลื่อนเข้าซัดฝั่งอย่างรุนแรง

สตอมเสิร์ท(Storm Surge) มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Tidal Surge เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมกับกับพายุหมุนที่มีลมรุนแรง โดยพายุ จะเกิดขึ้นได้โดย การที่ทะเลและบริเวณใกล้เคียงมีหย่อมความกดอากาศที่แตกต่างกัน โดยพายุหมุนจะเกิดในบริเวณที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำ (Low Pressure Area) ซึ่งเกิดจาก บริเวณพื้นผิวโลกมีความชื้นสูงและมีมวลอากาศอุ่น ทำให้อากาศลอยตัวสูงขึ้น ทำให้เกิดลมพัดเข้ามาหย่อมความกดอากาศต่ำ และเกิดการหมุนตัว เข้าหาจุดศุนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำ โดยในซีกโลกเหนือหรือบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรจะมีการหมุนตัวในทิศทวนเข็มนาฬิกา แต่หากเกิดในซีกโลกใต้หรือบริเวณใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา สตอมเสิร์ทจะดันน้ำให้มีระดับสูงขึ้นโดยรอบโดยจะมีลักษณะราบเรียบเท่ากันหมดให้บริเวณพายุแต่ตรงใจกลางพายุหรือที่เรียกว่าตาพายุจะมีระดับน้ำที่สูงกว่าปรกติ

ลมพายุหมุนนั้นนอกจากจะแบ่งระดับความแรงเป็น 3 แบบ คือ 
พายุดีเปรสชั่น มีความเร็วลมที่ศูนย์กลางน้อยกว่า 62 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุโซนร้อน มีความเร็วลมที่ศูนย์กลาง 70 - 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุไต้ฝุ่น มีความเร็วลมที่ศูนย์กลางมากกว่า 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

แล้วยังแบ่งตาม บริเวณพื้นที่ที่เกิดลมพายุ 
1. พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น สหรัฐอเมริกา ทะเลแคริบเบียน บริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก เป็นต้น
2. พายุไต้ฝุ่น (typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น อ่าวไทย บริเวณทะเลจีนใต้ ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
3. พายุไซโคลน (cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดีย เหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น

ลมพายุจะทำให้ระดับน้ำที่เกิดจากแรงของลมพายุมากน้อยนั้นมีอิทธิพลอยู่ 5 ประการ
1 .อิทธิพลความกดอากาศ ความกดอากาศสามารถทำให้ระดับน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้นในบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ โดยระดับน้ำจะยกตัวสูงขึ้นประมาณ 10 มิลลิเมตรต่อ ความกดอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป 1 มิลลิบาร์

2. อิทธิพลโดยตรงจากลมพายุ ความสูงชันของลมพายุส่งผลต่อความรุนแรงของพื้นที่ผิวลม หรือที่รู้จักกันในชื่อ ปรากฏการณ์ Ekman Spiral คือระดับน้ำจะยกตัวเพิ่มขึ้นในทิศเดียวกับกระแสลมที่พัดเข้าฝั่ง

3.อิทธิพลของการหมุนตัวของโลก เมื่อเกิดขึ้นคลื่นขึ้นบริเวณซีกโลกเหนือจะทำให้คลื่นเบี่ยงโค้งไปทางขวาของซีกโลกเหนือในขณะที่คลื่นเกิดในซีกโลกใต้คลื่นจะเบี่ยงโค้งไปทางซ้าย และเมื่อโลกเราหมุนรอบตัวเองอยู่ตลอดเวลาก็จะส่งผลให้เพิ่มระดับความสูงคลื่นขึ้นเมื่อคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง และลดระดับความรุนแรงลงเมื่อคลื่นหมุนโค้งออกจากชายฝั่ง

4.อิทธิพลของคลื่น เมื่อเกิดลมพายุ ลมพายุจะยกระดับคลื่นให้ใหญ่และมีทิศทาง เดียวกับการเคลื่อนที่ของลมพายุ โดยส่งผลให้คลื่นมีระดับความรุนแรงขึ้นเมื่อขึ้นสูงฝั่ง

5.อิทธิพลของปริมาณน้ำฝนที่ตก ปริมาณน้ำฝนที่ตกจะมีผลอย่างมากในบริเวณปากแม่น้ำ เพราะจะทำให้ระดับน้ำยกตัวสูงขึ้นออกมากในบริเวณดังกล่าวเมื่อคลื่นจากมหาสมุทรมารวมตัวกันกับน้ำจำนวนมากที่บริเวณปากแม่น้ำก่อนจะซัดเข้าสูฝั่ง ...
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย musa

รายการบล็อกของฉัน