Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2562

นักวิจัยพบทวีปโบราณใต้สมุทร หลังหายสาบสูญไปนานกว่า 84 ล้านปี


วงการวิทยาศาสตร์โลกฮือฮา นักวิจัยแอฟริกาใต้ ค้นพบชิ้นส่วนทวีปโบราณที่หายสาบสูญไปบริเวณใต้มหาสมุทรอินเดีย เชื่อจมลงไปอยู่ใต้ก้นมหาสมุทร เมื่อ 84 ล้านปีก่อน

♣️ เว็บไซต์ยูเอสเอทูเดย์ ได้เปิดเผยรายงานว่า ทีมนักวิจัยในแอฟริกาใต้ ได้ค้นพบชิ้นส่วนหลักฐานของทวีปโบราณที่สูญหายไปใต้มหาสมุทรอินเดีย บริเวณเขตประเทศมอริเชียส เกาะนอกชายฝั่งแอฟริกาในมหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงใต้  ทางนักวิทยาศาสตร์จึงเรียกชื่อว่า ทวีปมอริเชีย (Mauritia) ซึ่งคาดว่าจมหายลงไปใต้ก้นมหาสมุทร เมื่อกว่า 84 ล้านปีก่อน

ลีวิส แอชวาล หัวหน้าทีมวิจัยจาก
มหาวิทยาลัยวิตวอเตอร์สแรนด์ ในแอฟริกาใต้ ได้เปิดเผยว่า
ตอนนี้ทางทีมวิจัยกำลังศึกษากระบวนการแยกตัวของทวีปดังกล่าว เพื่อที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวประวัติศาสตร์ทางด้านธรณีวิทยาของโลก โดยชิ้นส่วนของทวีปที่ถูกพบนี้ คาดว่าเป็นส่วนหนึ่งของมหาทวีปกอนด์วานา (Gondwana) อันเป็นทวีปขนาดใหญ่สมัยโบราณ ซึ่งได้แยกตัวออกเป็น ทวีปแอนตาร์กติกา แอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกาใต้ ในปัจจุบัน

ในส่วนของเค้าลางที่นำมาสู่การค้นพบครั้งสำคัญนี้ คือการพบแร่โบราณ ในก้อนหินบนเกาะมอริเชียส หลังถูกพ่นออกมาตามลาวาหลังจากภูเขาไฟระเบิด โดยแร่โบราณที่พบนี้
เป็นแร่เซอร์คอนชนิดที่ไม่ควรพบที่บริเวณดังกล่าว ซึ่งหลังจากการนำผลึกแร่ชนิดนี้ไปตรวจสอบ ก็พบว่ามันมีอายุเก่าแก่เกินกว่าที่จะมาอยู่บนเกาะมอริเชียสได้

แอชวาล อธิบายเพิ่มเติมว่า โลกประกอบขึ้นจาก 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ "ทวีป" ซึ่งมีอายุมาก และ "มหาสมุทร" ซึ่งมีอายุน้อย โดยในส่วนของทวีปนั้น ก้อนหินที่อยู่บนพื้นทวีปสามารถมีอายุได้มากถึงหลายพันล้านปี แต่สำหรับในมหาสมุทรนั้น ไม่มีชิ้นส่วนใดที่มีอายุเก่าแก่ได้เท่านี้

สำหรับเกาะมอริเชียส มีอายุแค่ 2-3 ล้านปี แต่เศษแร่ที่พบกลับมีอายุมากถึงประมาณกว่า 3 พันล้านปี จึงสันนิษฐานได้ว่า มันเป็นชิ้นส่วนดั่งเดิมของทวีปโบราณดังกล่าว นอกจากนี้ จากการวิจัยยังชี้ว่า น่าจะมีชิ้นส่วนของทวีปมอริเชีย (ชื่อที่ตั้งขึ้นโดยทีมนักวิจัย) ในขนาดที่แตกต่างกันออกไปอีกที่ยังไม่พบ ซึ่งคาดว่ากระจายแยู่ตามจุดต่าง ๆ ทั่วมหาสมุทรอินเดีย

รายการบล็อกของฉัน